“ตรีนุช”ปลื้มชาวสระแก้วช่วยขับเคลื่อนการศึกษาคุณภาพ

รมว.ศึกษาธิการ ปลื้มชาวสระแก้วช่วยขับเคลื่อนการศึกษาคุณภาพ เติมเต็มศักยภาพผู้เรียนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)เรื่องการเยี่ยมบ้านนักเรียนและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่โรงเรียนบ้านท่าเกวียน ,โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม ,โรงเรียนอนุบาลคลองหาด และเป็นประธานเปิดอาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยา พร้อมทั้งเดินทางไปเยี่ยมบ้านนักเรียนในอำเภอวัฒนานคร อำเภอคลองหาด และอำเภอวังน้ำเย็น จ.สระแก้ว โดยมี ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วม

การศึกษา

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้นโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ของ ศธ. ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการศึกษาอย่างมีคุณภาพให้กับเด็กและเยาวชนไทย นั้น ตนได้ดำเนินโครงการ และภารกิจอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา โดยไม่ต้องการให้เด็กๆต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับ และให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งด้านความปลอดภัยทางร่างกาย และจิตใจ รวมถึงได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้เด็กนักเรียนได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้นำในอนาคตที่มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ สติปัญญา มีทักษะฝีมือ และทักษะการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนา และสร้างคุณภาพชีวิตที่ได้ให้กับตัวเอง ครอบครัวและคนรอบข้าง รวมถึงสังคมให้เจริญเติบโต และก้าวหน้า

น.ส.ตรีนุช กล่าวอีกว่า การดำเนินงานของ ศธ.จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนทุกคน เพื่อการขับเคลื่อน และสนับสนุนให้นโยบายด้านการศึกษานำไปสู่การปฏิบัติและปรากฎผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการเยี่ยมบ้านนักเรียนจะทำให้เรารู้สภาพปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้ช่วยเหลือในครอบครัวที่ยังไม่มีความพร้อมแต่ยังสามารถให้เด็กได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษา สถานศึกษาได้ทราบถึงปัญหาและสถานการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพเศรษฐกิจ สุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียนและของครอบครัว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการบริหารจัดการดูแลช่วยเหลือต่อไป

“ วันนี้ ศธ.โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. ) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มอบทุนการศึกษา กล่องปันน้ำใจ ถุงปันน้ำใจให้กับนักเรียน ในโอกาสนี้ขอขอบคุณผู้บริหาร ครู ตลอดจนผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ชุมชน ผู้มีจิตอาสา ฯลฯ และทุกคนที่ช่วยกันดูแลลูกหลานของเราให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครอบครัวไหนที่มีความเดือดร้อนก็ได้ระดมความช่วยเหลือ และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ที่นำโอกาสดีๆส่งต่อให้ลูกหลานได้รับโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ” รมว.ศธ.กล่าว แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> การเขียนเรียงความเป็นความรู้-ความฉลาดด้านภาษา

การเขียนเรียงความเป็นความรู้-ความฉลาดด้านภาษา

เหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้ว สำหรับการประกวดเรียงความในหัวข้อ “ครูใหญ่ในใจเรา” ที่มูลนิธิเอเชียร่วมกับเหล่าพันธมิตรได้จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมการรู้รักษ์ภาษาไทย

 

การ ศึกษา

 

และรับฟังพร้อมนำข้อคิดเห็นและเสียงสะท้อนของนักเรียนมาเผยแพร่ และสื่อสารให้ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ได้รับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริง โดยนักเรียนชั้น ม.1-ม.6 จากทั่วประเทศสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้-31 ต.ค.65 ซึ่งเมื่อถามถึงประโยชน์ของการเขียนเรียงความ และเรียงความที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร เรามีคำตอบจากสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย มาให้รับทราบกัน

รศ. ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ เลขาธิการสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความเป็นความรู้ที่สำคัญประการหนึ่งของ “ความรู้-ความฉลาดด้านภาษา” ซึ่งเป็นความรู้-ปัญญาด้านหนึ่งในความรู้ที่หลากหลาย หรือพหุปัญญา ที่วงการศึกษาในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศกำลังสนับสนุนให้เกิดมีขึ้นในนักเรียนนักศึกษาของเรา เพราะมีความคิดว่าความรู้ที่หลากหลายจะทำให้นักเรียนคิดได้หลายรูปแบบ มีประโยชน์ในการเข้าสังคมและทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ได้ การเขียนเรียงความต้องการความรู้หลายเรื่อง ทั้งความเข้าใจเนื้อหารวบยอดที่จะเขียน ความสามารถในการรวบรวมประเด็นที่จะนำเสนออย่างมีเหตุมีผล และมีศิลปะในการเลือกใช้สำนวนภาษาที่จะโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เชื่อตามได้ โดยเรียงความที่ดีนั้น จะต้องสื่อความได้ตรงกับเรื่องที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ หรือมีใจความที่ชัดเจน และยิ่งถ้ามีการใช้ภาษาที่ดีก็จะช่วยโน้มน้าวให้คนเห็นคล้อยตามความคิดของเรา ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารได้มากที่สุด”